<
 
 
 
 
×
>
You are viewing an archived web page, collected at the request of United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) using Archive-It. This page was captured on 15:13:08 Jul 11, 2016, and is part of the UNESCO collection. The information on this web page may be out of date. See All versions of this archived page.
Loading media information hide

Follow Us:

Revival of Thai Traditional Building Craftsmanship for World Heritage Conservation

โครงการเพื่อการฟื้นฟูภูมิปัญญาช่างฝีมือสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิมเพื่อการอนุรักษ์มรดกโลก

The conservation of Thailand’s heritage buildings and sites require craft and trade people that are trained with necessary skill-sets to ensure that correct techniques and materials are used. In Thailand, age-old building traditions and skills that were traditionally passed from masters to students are disappearing, leading to an increasing shortage of skilled tradespersons and craftspersons. In addition, the restoration of such places faces a range of challenges, including lack of access to the raw materials as well as a lack of know-how in traditional construction, particularly lime mortar and bricklaying techniques.

UNESCO, therefore, sees that it is imperative that these skills are revived and continued in order to protect Thailand’s valuable and irreplaceable built cultural heritage. It is necessary that our heritage properties are sensitively repaired using context-specific, local or regionally appropriate materials, techniques and methods.

The project to revive Thai traditional building craftsmanship will also assist Thailand in responding to the concern of World Heritage Committee regarding the conservation of the Historic City of Ayutthaya World Heritage Site. During the general conference in Bonn, Germany in July 2015, the World Heritage Committee requested Thailand to "carry out, as a matter of urgency, training programmes to improve the skills and expertise of craftsmen undertaking the conservation activities and to ensure conservation approaches are based on scientific conservation principles and respecting use of traditional materials and skills." The pilot site for this project, therefore, is the Historic City of Ayutthaya World Heritage Site. 

การอนุรักษ์พื้นที่และอาคารที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องพึ่งแรงงานมีฝีมือและผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม บุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนทักษะเฉพาะทาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แหล่งโบราณสถานได้รับการดูแลด้วยวิธีการและวัสดุที่ถูกต้อง ในประเทศไทย ภูมิปัญญาและทักษะการก่อสร้างแบบดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดจากช่างชั้นครูสู่ลูกศิษย์ กำลังเลือนหายไป ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานและผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างที่เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ การอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานกำลังเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อาทิ การขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบและองค์ความรู้ด้านการก่อสร้างในสมัยก่อน โดยเฉพาะเทคนิคการก่ออิฐถือปูน

ยูเนสโกจึงเห็นว่าการฟื้นฟูและสืบสานภูมิปัญญาช่างฝีมือจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในการการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของประเทศไทย แหล่งมรดกของชาวไทยควรได้รับการบูรณะโดยคำนึงถึงบริบทต่างๆของแหล่งมรดก ใช้วัสดุ เทคนิค และวิธีการที่เหมาะสมต่อท้องถิ่นและภูมิภาค

โครงการเพื่อการฟื้นฟูภูมิปัญญาช่างฝีมือสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิมเพื่อการอนุรักษ์มรดกโลกจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถตอบสนองโดยตรงต่อข้อวิตกกังวลของคณะกรรมการมรดกโลก เกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยระหว่างการประชุมประจำปีที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ

มรดกโลกได้ขอให้ประเทศไทยเร่งดำเนินโครงการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญของช่างฝีมือที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์โบราณสถาน และสร้างความตระหนักถึงหลักการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์และความสำคัญของการใช้วัสดุและทักษะการก่อสร้างแบบดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ แหล่งศึกษานำร่องของโครงการ คือ แหล่งมรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

The project is generously supported by the Crown Property Bureau. It aims to increase capacity in the safeguarding of Thailand's cultural heritage, in particular World Heritage sites. There are two paths for the implementation:

  1. Increasing awareness and understanding on the international standard of cultural heritage conservation to the conservation project supervisors, foremen and related private companies.
  2. Increasing necessary professional skills for building craftspeople, in order to conduct conservation works more efficiently, including the use of appropriate materials and techniques.

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอนุรักษ์คุ้มครองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งมรดกโลก โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน ๒ ประการ

  1. สร้างความตระหนักและความเข้าใจมาตรฐานการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมตามหลักสากลแก่ผู้ควบคุมงานอนุรักษ์และผู้รับเหมาก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง
  2. เสริมสร้างทักษะที่เป็นประโยชน์แก่ช่างฝีมือก่อสร้าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้าง โดยใช้วัสดุและวิธีการที่เหมาะสม