<
 
 
 
 
×
>
You are viewing an archived web page, collected at the request of United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) using Archive-It. This page was captured on 03:04:08 Jul 12, 2016, and is part of the UNESCO collection. The information on this web page may be out of date. See All versions of this archived page.
Loading media information hide

Follow Us:

News

Respect for All: Thailand National Consultation on Safe and Inclusive Education Environments, 20 - 22 June 2016, Dusit Thani Hotel, Bangkok, Thailand

16.06.2016

 

 

[Scroll down for Thai language]

Background:

A safe, inclusive and accepting school environment is a necessary condition for students to learn, thrive and reach their full potential. It also enhances the social and emotional well-being of learners, and builds respectful and equitable relationships and social cohesion in schools, families and communities.

Ensuring inclusive and quality education for all is a Sustainable Development Goal (Goal 4), with Goal 10 also emphasizing the importance of the political, social and economic inclusion of all, irrespective of age, sex, disability, race, ethnicity, origin, religion or economic or other status. The need for education to be delivered in safe, supportive and secure learning environments free from violence is an explicit target of Sustainable Development Goal 4, specified also in both the Incheon Declaration adopted at the World Education Forum in 2015 and the Framework for Action for Education 2030.

Violence against children has been widely documented globally in the past decade, but most research on violence against children in schools has neglected to explore the role of gender. Yet most forms of school violence are believed to be deeply rooted in unequal gender relations, gendered social norms and discriminatory practices, reinforced by unequal power dynamics. As many as 246 million learners are affected every year, according to the 2015 Education For All Global Monitoring Report.

Promoting inclusion and addressing gender-based violence in schools is of great relevance in Thailand. In Thailand’s most recent Global Student-based School Health Survey, one in three boys (32%) and one in five girls (23%) reported being subjected to bullying in the past month. Cyberbullying on the internet is also of concern, with one in three secondary students in a 2013 study reporting have been subjected to verbal, sexual or psychosocial bullying using technology in the past month.

Bullying against lesbian, gay, bisexual, transgender (LGBT) students in Thailand appears to be of particular concern. In a study of 2,070 students across four regions of Thailand, nearly six out of ten LGBT youth reported being bullied the past month because of their sexual orientation or gender identity. Bullied LGBT youth were two times more likely to have missed school in the month, nearly four times more likely to be depressed and seven times more likely to have tried to commit suicide than their non-bullied peers. Another study also found that discrimination, violence and exclusion in education limited job opportunities and often followed many young LGBT persons into the workforce.

The Royal Thai government has demonstrated its commitment to prevent and address violence and to promote inclusion of all members of society in schools and other settings through a range of policy and programme interventions. Thailand’s recent Gender Equality Act is the first in Southeast Asia to specifically protect against discrimination on the grounds of gender expression. A recent Child Protection Policy also calls for schools that are “schools are free from bullying, corporal punishment, and sexual harassment”, and where students can “be happy in their learning in a safe and warm environment.” Moreover, programmes exist across different ministries that can be drawn on, including within the Ministry of Education (comprehensive sexuality education, positive discipline programme, and Student Protection Center at the Office of the Basic Education commission), Ministry of Health (school health, and adolescent mental health, programmes), Ministry of Social Development and Human Security (children and youth protection, and domestic violence programmes) and the Ministry of Justice (human rights education in school programme). 

There are various intervention programs by national and international development agencies addressing school violence and inclusion, and a national technical working group has been established and is co-convened by UNESCO and UNDP since mid-2015 as part of the Being LGBTI in Asia regional initiative to promote coordinated and evidence-based action in this area. It is within this partnership, with support from more than 18 working group members, and with the vision to build closer collaboration between UNESCO and the Ministry of Education, Ministry of Social Development and Human Security, Ministry of Justice, and Ministry of Public Health (TBC) that this meeting is being convened.

Goal:

Promote evidence-based actions among education policy makers and practitioners from education, health and other sectors to ensure safe and inclusive learning environments, towards the full achievement of Education 2030.

Objectives:     

1. Raise awareness and build a common understanding of the role of the education sector to establish inclusive and safe spaces that respect all forms of diversity including gender and sexuality.
2.  Review the education sector’s response on the issue of inclusion and non-violence including: policy/legal and regulatory frameworks; curriculum and learning materials; teacher support; and support for students including links to health and social services. 
3.   Expand and strengthen networks and cooperation among government bureaux, civil society, youth networks, media, and development partners to advance safe and inclusive educational environments.
4.  Identify gaps and opportunities, and short- and long-term priority actions to advance safe and inclusive educational environments that respect all forms of diversity including gender and sexuality.

 
ไฟล์การนำเสนอ/ Presentations:

Day 1 - 20 June 2016

Day 2 - 21 June 2016

Day 3 -22 June 2016

รูปภาพจากการประชุม / Snapshots:

 

For more photos, please click HERE:


อ้างอิง / Resources:

-  รายงานสรุปเกี่ยวกับการรังแกด้วยเหตุแห่งเพศภาวะและเพศวิถี

A brief on school bullying on the basis of sexual orientation and gender identity

ข่าวประชาสัมพันธ์: “จากการถูกเหยียดหยาม สู่การมีส่วนร่วมในระบบการศึกษา”

PRESS RELEASE: ‘From Insult to Inclusion’: UNESCO launches first regional review of LGBTI bullying in Asia-Pacific schools

Connect with Respect – a curriculum tool to assist teachers to promote respectful relationship­s, gender equality and social cohesion among students in Asia and Pacific countries. Developed through a regional partnership, it draws on the scientific literature around violence prevention, gender norms change, and the programmatic experience of school-based interventions in the region and beyond.

ประเทศไทยเป็นมิตรต่อ LGBT จริงหรือ?

- LGBTI-Friendly Thailand?

- All Children have the Right to Education in Safe and Secure Learning Environments

- #RoadtoInclusion Campaign

#PurpleMySchool website


- วีดีโอ/Videos:

- Bias & Bullying

- Teachers Matter

- You Are Loved

- Imagine That 

 

โครงการจัดประชุมปรึกษาหารือระดับชาติในประเด็น การศึกษาที่เคารพทุกคนและให้การคุ้มครองโดยปราศจากการแบ่งแยก

วันที่  ๒๐-๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙
ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร


เป็นมา

สภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ปลอดภัย และปราศจากการแบ่งแยกเป็นเงื่อนใขพื้นฐานสำหรับนักเรียนที่จะได้เรียนรู้ เติมโต และพัฒนาศักยภาพของตนไปได้จนถึงที่สุด ทั้งนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างสุขภาวะให้แก่นักเรียนทั้งทางด้านสังคมและจิตใจ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน มีความเคารพต่อกัน มีผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขทั้งในโรงเรียน ในครอบครัว และในชุมชน

การจัดให้การศึกษามีมาตรฐานด้านคุณภาพสำหรับทุกคนโดยปราศจากการแบ่งแยกเป็นส่วนสำคัญส่วนของ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ๑๗ ประการ (เป้าหมายข้อที่ ๔) อีกทั้งในเป้าหมายข้อที่ ๑๐ การเน้นถึงความสำคัญทางด้านการเมืองและด้านการพัฒนาเศรฐกิจและสังคมว่าไม่ควรมีการแบ่งแยกกีดกัน ไม่ว่าจะด้วยสถานภาพใด ทั้งด้านอายุ เพศ ความสามารถ สีผิว ชาติพันธ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานภาพทางเศรษฐกิจ หรือ สถานภาพใดใดก็ตาม   มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการจัดการศึกษาที่มีมาตรการคุ้มครองนักเรียนให้ได้เล่าเรียนในสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากความรุนแรงใดใด ตามที่มีการกำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ๑๗ประการ (เป้าหมายข้อที่ ๔) และมีการกำหนดไว้เช่นกันในประกาศอินเชินและกรอบแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาปี ๒๕๗๓ ที่มีการรับรอง ณ การประชุมนานาชาติเรื่องการศึกษาเมื่อปี ­๒๕๕๘

ในช่วงทศววรษที่ผ่านมามีการรวบรวมข้อมูลทั่วโลกเรื่องความรุนแรงต่อเด็กแต่การวิจัยที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กในโรงเรียนส่วนใหญ่มักไม่คำนึงถึงปัจจัยด้านเพศสถานะ ทั้งๆที่รูปแบบของการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนมีความเกี่ยวโยงอย่างลึกซึ้งกับความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศทั้งในแง่ธรรมเนียมค่านิยมและการปฏิบัติที่ไม่ยอมรับความเท่าเทียมระหว่างเพศ และยังได้รับการหนุนจากอำนาจทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันอีกด้วย จากรายงานระดับโลกเพื่อการติดตามสถานการณ์การศึกษาที่เผยแพร่เมื่อปี ๒๕๕๘ สรุปว่า ทั่วโลกมีเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบด้านความรุนแรงมากถึง ๒๔๖ ล้านคนต่อปี

การส่งเสริมการไม่เลือกปฏิบัติและการขจัดความรุนแรงที่มีฐานมาจากเพศสถานะในพื้นที่โรงเรียนเป็นประเด็นสำคัญของประเทศไทยเช่นกัน   การศึกษาเชิงสำรวจในประเทศไทยเกี่ยวกับสุขภาพองค์รวมของนักเรียนในโรงเรียนพบว่าสามในสี่ของเด็กชาย(๓๒%) และหนึ่งในห้าของเด็กผู้หญิง(๒๓%)ถูกรังแกในเดือนที่ผ่านมา การรังแกโดยใช้สื่อออนไลน์หรือที่เรียกว่าไซเบอร์บุลลี่อิ้งก็เป็นปัญหาเช่นกัน ตามที่มีเด็กระดับมัธยมหนึ่งในสามคนที่ถูกรังแกทั้งทางวาจาทางเพศและทางจิตใจโดยผ่านเทคโนโลยี่สื่อสารนี้

การรังแกนักเรียนที่มีความแตกต่างด้านเพศสถานะและเพศวิถี เช่น คนข้ามเพศ (transgender) คนรักเพศเดียวกัน (gay and lesbian) หรือ คนรักสองเพศ (bisexual) ก็เป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงในประเทศไทยเช่นกัน จากการศึกษานักเรียนจำนวน ๒,๐๗๐ คน ในสี่ภาค เด็กเกือบหกคนจากจำนวนสิบคนในกลุ่มรักเพศเดียวกันและข้ามเพศถูกรังแกในช่วงเดือนที่ผ่านมาเพราะเพศสถานะและเพศวิถี เด็กที่ถูกรังแกเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะขาดเรียนมากกว่าเด็กที่ไม่ถูกรังแกถึงสองเท่า มีแนวโน้มที่จะมีอาการเครียดมากกว่าถึงสี่เท่า และมีพฤติกรรมอยากฆ่าตัวตายสูงกว่าถึงเจ็ดเท่า การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่าการเลือกปฏิบัติความรุนแรงและการแบ่งแยกกีดกันในด้านการศึกษามีผลต่อโอกาสในการทำงาน  นอกจากนี้คนกลุ่มนี้ยังถูกเลือกปฏิบัติและเผชิญความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานอีกด้วย

รัฐบาลไทยแสดงถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันและขจัดความรุนแรง และส่งเสริมการไม่แบ่งแยกระหว่างคนกลุ่มต่างๆในระบบการศึกษา และในแผนนโยบายและมาตรการแก้ไขต่างๆ ล่าสุดประเทศไทยมีการตรากฎหมายพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งนับเป็นกฎหมายฉบับแรกในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการห้ามการเลือกปฏิบัติเพราะการแสดงออกที่แตกต่างด้านเพศสถานะ นโยบายการคุ้มครองดูแลเด็กที่เพิ่งประกาศไม่นานมานี้กำหนดให้ “โรงเรียนต้องปลอดจากการรังแก การลงโทษหนัก และการคุกคามทางเพศ” ทั้งนี้ “เพื่อให้นักเรียนมีความสุขกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ปลอดภัยและอบอุ่น” ยิ่งกว่านั้นมาตรการที่ดำเนินการอื่นๆทั้งที่ดำเนินการโดยกระทรวงต่างๆและของกระทรวงศึกษาธิการเอง (เช่น การสอนเพศศึกษาแบบรอบด้าน การส่งเสริมการใช้วินัยเชิงบวกในโรงเรียน และการทำงานของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน)   ของกระทรวงสาธารณสุข (เช่น งานด้านอนามัยโรงเรียน ด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และด้านการดูแลผู้เผชิญความรุนแรงในครอบครัว) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (งานด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชน และการแก้ไขปัญหความรุนแรงในครอบครัว) และกระทรวงยุติธรรม

นอกจากนี้ มีโครงการหลายโครงการที่จัดทำโดยหน่วยงานด้านการพัฒนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติที่มุ่งแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและการแบ่งแยก และมีคณะทำงานด้านเทคนิคด้านการรังแกในโรงเรียน (สมาชิก ๑๘ คน) ที่ตั้งขึ้นในปี ๒๕๕๘ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างยูเนสโกและโครงการ Being LGBT in Asia ของ UNDP เพื่อส่งเสริมการประสานงานและการปฏิบัติงานในประเด็นนี้  ที่ประชุมของคณะทำงานด้านเทคนิคได้เสนอให้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดับชาติในประเด็นการศึกษาที่เคารพทุกคนโดยให้การคุ้มครองและปราศจากการแบ่งแยก  ทั้งนี้โดยมุ่งให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างยูเนสโกกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงยุติธรรมในโอกาสต่อไป

เป้าหมาย

เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านการศึกษา สาธารณสุข และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดมาตรการต่างๆโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาวิจัย เพื่อสรรสร้างให้เด็กทุกคนได้รับการคุ้มครองและโดยไม่มีแบ่งแยก ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ‘การศึกษาปี ๒๕๗๓’ (หรือ ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Education 2030 อันเป็นเป้าหมายด้านการศึกษาของสหประชาชาติ)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและความเข้าใจในบทบาทของภาคการศึกษาในการคุ้มครองนักเรียนจากการเลือกปฏิบัติในทุกด้านรวมทั้งด้านเพศสถานะและเพศวิถี
2.  เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่างๆในการคุ้มครองนักเรียนในสถานศึกษา รวมถึง กฎหมาย นโยบาย กรอบการปฏิบัติงาน หลักสูตรการเรียนการสอน หนังสือตำราเรียน การเสริมสร้างศักยภาพครูและนักเรียน รวมทั้งการประสานกับการบริการด้านสุขภาพและด้านสังคม/สังคมสงเคราะห์อีกด้วย
3.   เพื่อขยายเครือข่าย เสริมความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ หน่วยงานภาคประชาสังคม เครือข่ายเยาวชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนา เพื่อให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัยและปราศจากการแบ่งแยก
4.  เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างและโอกาสใหม่ๆ  และร่วมกำหนดแผนปฏิบัติการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อจรรโลงให้ระบบการศึกษาคุ้มครองเด็กจากการเลือกปฏิบัติในทุกด้าน รวมทั้งด้านเพศสถานะและเพศวิถี