<
 
 
 
 
×
>
You are viewing an archived web page, collected at the request of United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) using Archive-It. This page was captured on 06:24:03 Mar 23, 2021, and is part of the UNESCO collection. The information on this web page may be out of date. See All versions of this archived page.
Loading media information hide

ข่าวประชาสัมพันธ์ การประชุมเครือข่ายระดับชาติว่าด้วยการจัดการศึกษานอกระบบของเด็กด้อยโอกาสและ บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย

PRESS ADVISORY: National Network Meeting on Education for Disadvantaged Children and Persons without Civil Registration or Non-Thai Persons

ข่าวประชาสัมพันธ์ การประชุมเครือข่ายระดับชาติว่าด้วยการจัดการศึกษานอกระบบของเด็กด้อยโอกาสและ บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย

ระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพมหานคร

รัฐบาลไทยและหน่วยงานภาคประชาสังคมได้มีความพยายามช่วยเหลือเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ในปัจจุบันเด็กเหล่านี้ รวมทั้งเด็กข้ามชาติกว่า 150,000 คน สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาในประเทศไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม จากการประมาณการณ์ พบว่ายังมีเด็กข้ามชาติกว่า 200,000 คน ที่ยังคงไม่ได้ไปโรงเรียน และยังไม่รับการศึกษาในรูปแบบใดๆ ทั้งนี้ เนื่องจากการขาดข้อมูลทางสถิติ จำนวนเด็กข้ามชาติ ซึ่งยังคงตกหล่นจากระบบการศึกษานั้น จึงอาจมีจำนวนมากกว่านี้

เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของเด็กตกหล่นและเด็กด้อยโอกาส องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ จึงร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดการประชุมเครือข่ายระดับชาติว่าด้วยการจัดการศึกษานอกระบบของเด็กด้อยโอกาสและบุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ในระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2561 ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคีเครือข่ายทางการศึกษาในประเด็นดังกล่าว  ความพยายามที่สำคัญในการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส ยังรวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรทุนประเดิมจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้เด็กด้อยโอกาส รวมทั้งเด็กข้ามชาติ มีสิทธิที่จะรับและเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง

นอกจากนี้  สำนักงาน  กศน. และองค์กรภาคประชาสังคม ยังได้มีความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยและหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 สำหรับเด็กลูกที่ไม่มีสัญชาติไทย ระดับประถมศึกษา  ในศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติจากประเทศเมียนมาร์ จำนวน 13 แห่ง ใน 5 จังหวัด ซึ่งเด็กที่เข้าเรียนในหลักสูตรดังกล่าว  จะได้รับวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา และสามารถเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยได้ สำหรับเด็กที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อในประเทศเมียนมาร์นั้น ก็สามารถลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเมียนมาร์ (NFPE)  ซึ่งในขณะนี้มีการใช้หลักสูตรดังกล่าวที่ศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติอย่างน้อย 19 แห่งในประเทศไทย และจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาเมื่อจบหลักสูตรเช่นกัน นอกจากกลุ่มเด็กสำนักงาน กศน. ยังจัดการศึกษาให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ทุกรูปแบบ และทุกกิจกรรม และในปี 2561 สำนักงาน กศน. ประเมินการจัดการศึกษานอกระบบ เพื่อนำสภาพปัญหามาพัฒนางานให้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

การประชุม ดังกล่าว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การจัดการศึกษาเพื่อกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ซึ่งรวมไปถึงเด็กพิการ เด็กเร่ร่อน ชาวเล และเด็กมุสลิมในบริบทของภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 220 คน จากกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ

การแถลงข่าว  วันที่ 23 ก.ค. 2561 ระหว่างเวลา 11.00 น.-12.00 น.

สถานที่ประชุม
โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพฯ
40 ซ. สุขุมวิท 26 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
เว็บไซต์ www.fourwingshotel.com

ข้อมูลผู้ประสานงาน

องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ
ภาษาอังกฤษ: นายอิชิโร มิยาซาวา ผู้เชี่ยวชาญ i.miyazawa@unesco.org
ภาษาไทย: นางสาวโศวิรินทร์ ชวนประพันธ์ เจ้าหน้าที่โครงการ s.chuanprapun@unesco.org

สำนักงาน กศน.
นางณัฐกฤตา พึ่งสุข ผู้อำนวยการ กศน.กลุ่มเป้าหมายพิเศษ สำนักงาน กศน. hitima.nfe@hotmail.com
นางสาวฐิตาพร จินตะเกษกรณ์  ผู้ประสานงานโครงการ สำนักงาน กศน. thitajin274@gmail.com