<
 
 
 
 
×
>
You are viewing an archived web page, collected at the request of United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) using Archive-It. This page was captured on 12:28:17 Jun 18, 2021, and is part of the UNESCO collection. The information on this web page may be out of date. See All versions of this archived page.
Loading media information hide

ข่าวประชาสัมพันธ์ - นิทรรศการ Internet Universality Beyond Words และการเสวนาเกี่ยวกับเสรีภาพทางศิลปะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ - นิทรรศการ Internet Universality Beyond Words และการเสวนาเกี่ยวกับเสรีภาพทางศิลปะ

[English]

เราจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นถึงอินเทอร์เน็ตที่เสรี เปิดกว้าง และสามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคนได้อย่างไร เราจะตระหนักถึงศักยภาพการแสดงออกในโลกออนไลน์และปฏิสัมพันธ์ในการสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร อะไรคือการกระทำที่ส่งอิทธิพลในทางบวกต่อเสรีภาพทางศิลปะและการสร้างสรรค์ในประเทศไทย

เนื่องในโอกาสวันที่ระลึกสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลสำหรับทุกคน (International Day for Universal Access to Information) ในวันที่ 28 กันยายน องค์การยูเนสโกเปิดตัวนิทรรศการที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) โดยแสดงผลงานของศิลปินและนักสร้างสรรค์เนื้อหาจำนวน 11 คน ที่ทำงานร่วมกันโดยให้ความสำคัญกับแนวคิดอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (Internet Universality) ขององค์การยูเนสโก นิทรรศการเรียกร้องให้มีอินเทอร์เน็ตใช้งานสำหรับทุกคน และตั้งอยู่บนหลักพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน (R) ความเปิดกว้าง (O) ความสามารถในการเข้าถึงได้ (A) และ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (M) ซึ่งเรียกกันว่าหลักการ ROAM
ผลงานที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ ประกอบด้วย

  • My Virtual Playground ผลงานชุดหนังสือภาพประกอบ เรื่องราวเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต และการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอาศัยผลจากการสำรวจออนไลน์
  • วิดีโอสารคดีสำรวจผลกระทบของกฎหมายที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์ เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (Internet Universality)
  • หนังสือภาษา+ไทย นำเสนอระดับของการมองเห็นของประเทศไทยผ่านภาษาต่างๆ ที่ใช้บนสื่ออินเทอร์เน็ต
  • Watch! ผลงานประติมากรรม ที่สร้างจากภาพต่างๆ จากข่าวในประเทศไทย โดยตั้งคำถามถึงการมีส่วนร่วมของพลเมืองผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
  • ผลงานวิดีโอเกี่ยวกับ memes ที่สามารถนำมาใช้เป็นภาษารหัสในประเทศไทยเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และทางการเมืองที่ถูกห้าม
  • โครงการของนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่วิเคราะห์จุดบรรจบกันระหว่างอินเทอร์เน็ตและการปฏิบัติงานแบบหัตถกรรมดั้งเดิมที่เพชรบุรีและย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ

panel%20full-revised.jpg

การเสวนาก่อนเปิดนิทรรศการ ดำเนินรายการโดย Sali Sasaki ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ ซึ่งจะเน้นเรื่องเสรีภาพทางศิลปะ และการมีส่วนร่วมสนับสนุนของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม (ค.ศ. 2005) ที่จะตั้งคำถามถึงความท้าทายที่ภาคการสร้างสรรค์ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมแสดงงานในนิทรรศการ Duong Bich Hanh และ Misako Ito จากองค์การยูเนสโก และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ได้แก่ สรยศ ประภาพันธ์ เป็นเอก รัตนเรือง และ อนุชา บุญยะวรรธนะ

ทั้งนี้สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 การจัดนิทรรศการในวันที่ 28 กันยายน ได้เน้นถึงความมุ่งมั่นระหว่างประเทศเพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการได้ นิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ตั้งแต่เวลา 10:30-21:00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์

งานเสวนา วันที่ 28 กันยายน เวลา 16:00 น. ณ ห้องฟังก์ชั่น ชั้น 4 TCDC
งานเปิดงานนิทรรศการ วันที่ 28 กันยายน  เวลา 17:30 น. ณ สวนดาดฟ้า ชั้น 5 TCDC

 

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
1160 ถ. เจริญกรุง บางรัก กรุงเทพฯ

สนใจเข้าร่วมกิจกรรม กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ Ms. Oksana Iatsenko (o.iatsenko@unesco.org)
ดาวน์โหลดโปรแกรมกิจกรรมได้ที่นี่

ระยะเวลานิทรรศการ
28 กันยายน -14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Event
-