<
 
 
 
 
×
>
You are viewing an archived web page, collected at the request of United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) using Archive-It. This page was captured on 07:26:37 Oct 05, 2022, and is part of the UNESCO collection. The information on this web page may be out of date. See All versions of this archived page.
Loading media information hide

การสอนด้วยมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย

การสอนด้วยมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย

Publication's coverคู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนศูนย์การเรียนชุมชนให้สามารถนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเข้ามาใช้พัฒนาเนื้อหาและวิธีจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษาที่ดำเนินการอยู่ เนื้อหาทั้ง 8 บทครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ตลอดจนคำศัพท์ แนวคิด และแนวทางที่สำคัญ โดยบางส่วนได้อ้างอิงมาจากแหล่งข้อมูลระดับนานาชาติ อาทิ คู่มือประกอบอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Kit of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ชุดเครื่องมือ “การวางแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ซึ่งจัดทำโดยโครงการสร้างกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการตลาดที่สอดคล้องกับมรดกท้องถิ่น (Heritage Sensitive Intellectual Property and Marketing Strategies/HIPAMS) ประเทศอินเดีย และได้รับอนุญาตภายใต้ใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ (CC-BY-NC) หลักการทางจริยธรรมของอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก (UNESCO Intangible Heritage Convention’s Ethical Principles) ค.ศ. 2015 และชุดคู่มือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Infokit: Intangible cultural heritage and sustainable development)

นอกจากนี้ คู่มือเล่มนี้ยังนำเสนอกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งได้จากการดำเนินโครงการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านศูนย์การเรียนชุมชนในประเทศไทย ที่มีศูนย์การเรียนชุมชนและหน่วยงานระดับอำเภอภายใต้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทั้งหมด 8 แห่ง ร่วมถอดบทเรียนนำร่องการใช้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานการเรียนรู้ ระหว่างปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 กรณีศึกษาเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการศึกษาในบริบทของประเทศไทยโดยเฉพาะ

Download ICONอ่าน/ดาวน์โหลดไฟล์

Publication date